วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิตามินอี กินให้เป็น

วิตามิน...กินให้เป็น (ตอนที่ 2)
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าวิตามินมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ คือเป็นตัวช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งแหล่งสำคัญของวิตามินก็คืออาหารที่เรากินเป็นประจำนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง อาหารประเภทข้าว แป้ง ไขมัน รวมทั้งอาหารประเภทผักและผลไม้ และจากที่คนเราอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่เร่งรีบ จึงให้เวลาสำหรับเรื่องอาหารการกินน้อยลง บริโภคนิสัยเปลี่ยนไป ประกอบกับมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแพร่เข้ามาในสังคมไทย ทั้งผ่านสื่อต่าง ๆ และการขายตรง ทำให้คนจำนวนไม่น้อย เห็นเป็นทางลัดที่จะช่วยทำให้สุขภาพดีแทนที่จะเลือกกินอาหารที่ถูกต้องและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ซึ่งคอลัมน์ Nutrition เมื่อฉบับที่แล้วได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับวิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ รวมถึงแหล่งอาหารที่มีวิตามินสูง ประโยชน์ที่จะได้รับ ตลอดจนผลข้างเคียงที่จะก่อให้เกิดอันตรายหากบริโภคมากเกินไป ซึ่งอันตรายเหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นหากบริโภคในรูปของอาหาร แต่ถ้าบริโภคในรูปของเม็ดยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็อาจก่อให้เกิดผลเสียได้ แม้ร่างกายจะสามารถขับวิตามิน ที่ละลายในน้ำออกได้ง่ายกว่า วิตามินที่ละลายในไขมันก็ตาม ในฉบับนี้จึงขอนำรายละเอียดของวิตามินที่ละลายในไขมันเสนอต่อจากตอนที่แล้ว
เวิตามินชนิดที่ละลายในไขมันเป็นวิตามินที่ต้องมีไขมันเป็นตัวนำหรือตัวพาไป ร่างกายจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ วิตามินชนิดนี้ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ทำหน้าที่ปกป้องเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เยื่อบุลำไส้ เยื่อบุทางเดินหายใจ เป็นต้น เมื่อขาดวิตามินเอ เยื่อบุต่างๆ จะเหี่ยวฝ่อ ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งวิตามินเอจะช่วยให้ระบบภูมิต้านทานแข็งแรง และยังช่วยให้สามารถมองเห็นในที่มืดได้ดี ถ้าขาดวิตามินเอจะทำให้การปรับตัวของตาในที่มืดไม่ดี คนสมัยก่อนเรียกอาการดังกล่าวว่า “ตามัวตาฟาง” และวิตามินเอยังมีบทบาทช่วยในการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก สมอง และอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่าวิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ซึ่งการขาดวิตามินเอทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอ มองเห็นไม่ดีในเวลากลางคืน ติดเชื้อง่าย และในเด็กเล็กหากขาดวิตามินเออย่างรุนแรงจะทำให้เสียชีวิตได้ ในทางตรงกันข้าม หากได้รับในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ผิวแห้ง ผมร่วง ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ปวดกระดูก สำหรับหญิงมีครรภ์ถ้าได้รับวิตามินเอมากเกินไปจะทำให้แท้งได้

เรื่องของฉัน

ประวัติ นางสาวรัชนี สุขศิริ
การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนวัดใหม่
มัธยมศึกษา ศิริปัญญาจารย์
อนุปริญญา วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
วิชาเอก สุขศึกษา
วิชาโท โภชนาการ
การทำงาน ปัจจุบัน ข้าราชการครู โรงเรียนวัดใหม่ อำเภอพรหมคีรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4